Concepts in Action

Singha Estate

บริษัทฯ มีเป้าหมายในการลดผลกระทบจากขยะ ของเสียและวัสดุเหลือใช้ ทั้งจากการก่อสร้างและจากการดำเนินงานในทุกธุรกิจ เพื่อไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล “Zero-waste to Ocean” โดยใช้แนวทางบริหารจัดการ 4Rs: Rethink, Reduce, Reuse, Recycle โดยเฉพาะการลดของเสียประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง พร้อมทั้งวางแผนการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดวงจรชีวิตของวัสดุ สนับสนุนการใช้วัสดุซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งยังร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ส่งเสริมให้มีการแยกขยะอย่างถูกวิธีร่วมกับกลุ่มผู้รับเหมา ส่วนธุรกิจโรงแรมจะมุ่งเน้นในการลดปริมาณขยะอาหาร และการเป็นโรงแรมปลอดการใช้พลาสติก

  • โครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส พัฒนาการ ลดขยะจากการก่อสร้าง 49,047 กิโลกรัม
  • ธุรกิจโรงแรม จัดทำโครงการ Zero Food Waste to Ocean
  • โครงการเอส โอเอซิส จัดการพลาสติกห่อหุ้มวัสดุจากการก่อสร้าง 528.5 กิโลกรัม
  • ส่งมอบขยะทะเลประเภทพลาสติกให้องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม "PARLEY" เพื่อนำไปรีไซเคิลแล้วกว่า 1,070 กิโลกรัม
  • ขวดพลาสติก PET นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในโครงการ “ฃ ขวด คืนค่า” แล้วกว่า 162 กิโลกรัม
  • เศษหัวเสาเข็มที่เหลือจากการก่อสร้างโครงการของบริษัท กว่า 1,232 ตัน ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 ที่นำมารีไซเคิล
  • ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ หล่อแผ่นปูพื้นทางเดินจากเศษปูน และส่งมอบให้กับสวนสันติภาพจำนวน 271 แผ่น

โครงการ “ฃ ขวด คืนค่า”


สิงห์ เอสเตท มีเป้าหมายผลักดันการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จนนำมาซึ่งการติดตั้งเครื่อง RVM (Reversed Vending Machine: RVM) ที่รองรับขวดพลาสติกใส PET ที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับไปรีไซเคิล โดยมีจุดติดตั้งเครื่อง 2 แห่งคือ โครงการดิ เอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE Sukhumvit 36 ) และโครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ (THE ESSE at SINGHA COMPLEX

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in Construction Industry: CECI)

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in Construction Industry: CECI) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับการก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และลดการกำจัดของเสียแบบฝังกลบ ผ่านการบริหารจัดการกระบวนการก่อสร้างตลอดวงจรห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มีเศษวัสดุจากงานก่อสร้างน้อยที่สุด โดยโครงการ ศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส พัฒนาการ สามารถลดขยะและวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง ได้ถึง 49,047 กิโลกรัม ตลอดจนสามารถรีไซเคิลของเสียมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างใหม่ โดยนำเศษหัวเสาเข็มที่เหลือจากการก่อสร้างโครงการของบริษัท กว่า 1,232 ตัน ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 ที่นำมารีไซเคิล

เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network: TRBN) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปี 2565 บริษัทยังคงเข้าร่วมโครงการ “วิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2564 ร่วมกับ TRBN ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนที่ตั้งอยู่บริเวณรอบแนวถนนวิภาวดีรังสิต มีส่วนร่วมในการลดของเสียสู่หลุมฝังกลบ ผ่านการคัดแยกและบริหารจัดการของเสียแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

PARLEY

PARLEY เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่หวังผลกำไร โดยเป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับโลกเพื่อปกป้องท้องทะเลจากขยะ โดยเฉพาะวัสดุพลาสติกจากขยะทะเล ซึ่ง PARLEY จับมือกับสิงห์ เอสเตท ในโครงการ CROSSROADS สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการรวบรวมขวดพลาสติกและส่งมอบให้แก่องค์กร PARLEY นำไปรีไซเคิล โดยที่ผ่านมามีการส่งมอบพลาสติกไปแล้วกว่า 1,030 กิโลกรัม ซึ่งปี 2565 มีการส่งมอบขยะชายหาดทั้งหมด 40 กิโลกรัม โดยในอนาคต บริษัทฯ มีการวางแผนว่าจะพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ลดขยะเศษอาหารให้น้อยที่สุด

บริษัทฯ มีแนวคิดที่จะริเริ่มหาวิธีการต่างๆ ในการลดเศษอาหารให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งไว้ คือ การลดปริมาณขยะเศษอาหาร (Food Waste) และการสูญเสียอาหารระหว่างการผลิต (Food Loss) เพื่อให้มีอาหารบริโภคอย่างยั่งยืน โดยเศษอาหารที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Unavoidable Food Waste) เช่น ก้างปลา กระดูกสัตว์ เปลือกผลไม้ เป็นต้น จะถูกนำไปแปรรูปเพื่อนำไปทำประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ทำน้ำหมัก EM หรือทำเป็นปุ๋ยหมัก เป็นต้น ส่วนเศษอาหารที่หลีกเลี่ยงได้ (Avoidable Food Waste) จะมุ่งเน้นให้เกิดการลดปริมาณขยะอาหารต่อค


Former actions

    1 / 0